วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กล้วยน้ำว้าตะนาวศรี

http://www.nbbch.org/bedo2016/biological/images/2/307-2-2-2.png 
วงศ์ : Musaceae
กลุ่ม : Eumusa
ชนิด (Species/Group) :Musa sp.(ABB Group) ‘Kluai Namwa Tanaow Sri’
ชื่อไทย : กล้วยน้ำว้าตะนาวศรี
ชื่อพ้อง : กล้วยน้ำว้าไส้เหลือง, กล้วยน้ำว้าดง
ถิ่นอาศัย : ภาคกลาง ภาคตะวันตก
แหล่งที่พบ : จังหวัด#ราชบุรี#กาญจนบุรี และเขต#ภาคกลาง#ภาคตะวันออก ของประเทศ


http://www.nbbch.org/bedo2016/biological/images/2/307-2-1-1.png

 ลัษณะเด่น
       ทรงต้นปานกลาง ผลผลิตไม่มาก ลักษณะผลอ้วนสั้น ขนาดผลสม่ำเสมอ รสชาติดี แปรรูปได้หลายชนิด เป็นที่ต้องการของตลาด
การใช้ประโยชน์
      รับประทานผลสดและแปรรูปเป็นอาหาร เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยกวน กล้วยฉาบ กล้วยทอด(กล้วยแขก) กล้วยปิ้ง ดอก(ปลี)นำมาใช้ทำอาหารได้ไม่มีรสฝาด เช่นรับประทานเป็นผักสด คู่กับน้ำพริก ผัดไท ขนมจีน นำดอกไปแกงเลียง แกงข่าไก่ ยำหัวปลี ลาบหัวปลี ทอดมันหัวปลี เป็นต้น และพบว่าหัวปลีมีสรรพคุณทางยาเป็นยารักษาการอักเสบภายในร่างกาย ผลสุกช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคภูมิแพ้ ผิวเปลือกสุกด้านในรักษาโรคส้นเท้าแตกได้ ผลิตภัณฑ์แปรรูปได้แก่ กล้วยตาก กล้วยแผ่นอบ กล้วยกวน กล้วยทอดกรอบ(กล้วยฉาบ) แป้งกล้วย เป็นต้น ใบใช้ในการห่อของ ลำต้นเป็นอาหารสัตว์ ทำเชือกกล้วย ทำกระดาษ ทำปุ๋ยหมัก
 http://www.nbbch.org/bedo2016/biological/images/2/307-2-2-6.png
คุณค่าทางเศรษฐกิจ
        เป็นกล้วยที่ส่งออกทั้งผลสดและแปรรูป มีการผลิตกล้วยแปรรูปจากกล้วยน้ำว้ามากที่สุดในบรรดากล้วยของไทย โดยมีมูลค่ากล้วยผลสด 56,406,103 บาท และผลิตภัณฑ์จากกล้วย 79,886,695 บาท (2555) ประเทศคู่ค้าที่สำคัญได้แก่ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และประเทศทางยุโรป




ข้อมูลจาก   :  สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (http://www.nbbch.org/)
รูปภาพจาก  : (http://www.nbbch.org/)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น